ประวัติฟุตซอล กีฬาฟุตซอล เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย ด้วยรูปแบบการเล่นที่คล้ายคลึงกับฟุตบอล  กฎกติกาก็ใกล้เคียงกัน ทำให้ทำความเข้าใจได้ง่าย อีกทั้ง การเล่นฟุตซอลใช้พื้นที่ในการเล่นไม่มาก สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย เราจึงมักจะเห็นคนไทยเล่นกีฬาฟุตซอลตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งสนามกีฬาอเนกประสงค์ โรงพละ พื้นที่ว่างทั่วไป เช่น ใต้ทางด่วน หรือในสวนสาธารณะที่จัดพื้นที่อเนกประสงค์ไว้ โดยกีฬาฟุตซอลที่เป็นที่นิยมอย่างมากในไทยนั้น มี ประวัติความเป็นมาอย่างไร มีที่มาอย่างไรนั้น ทาง Educatepark ได้รวบรวม ประวัติฟุตซอล ประวัติฟุตซอลต่างประเทศ ประวัติฟุตซอลไทย ความหมายและเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งติดตามได้ตามเนื้อหาด้านล่าง

ประวัติฟุตซอล

ประวัติฟุตซอล ที่มาและความหมายของฟุตซอล

คำว่า ฟุตซอล (Futsal) มีรากศัพท์มาจากภาษาสเปน FUTbol หรือโปรตุเกส FUTebol มาผสมคำกับ SALa (ซึ่งเป็นภาษาสเปนหรือฝรั่งเศสของคำว่า Indoor) เมื่อนำมารวมกันจึงกลายเป็นคำว่า ฟุตซอล โดยความหมายแล้วคือกีฬาฟุตบอลที่เล่นในที่ร่ม

กีฬาฟุตซอล ถือกำเนิดขึ้นในประเทศเเคนาดา เมื่อปี ค.ศ. 1854 (พ.ศ. 2397) เนื่องจากเมื่อย่างเข้าหน้าหนาว หิมะตกคลุมทั่วบริเวณ ทำให้นักกีฬาไม่สามารถเล่นกีฬาฟุตบอลกลางเเจ้งได้ จึงหันมาเล่นฟุตบอลในร่ม โดยใช้โรงยิมบาสเกตบอลเป็นสนามเเข่ง ทำให้ช่วงนั้นเรียกกีฬาฟุตซอลว่า Indoor Soccer (อินดอร์ซอคเกอร์) หรือ five a side soccer

เรียนซัมเมอร์ที่ต่างประเทศ

ปี ค.ศ. 1930 (พ.ศ. 2473) ฮวน คาร์ลอส เซอเรียนี จากเมืองมอนเตวิเดโอ ประเทศอุรุกวัย ได้นำกีฬาฟุตซอลไปใช้ในสมาคม YMCA (Young Man’s Christian Association) โดยใช้สนามบาสเกตบอลในการเล่นทั้งภายในและภายนอกอาคาร ทำให้กีฬา Indoor soccer ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ
ปี ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) โรเจอร์ เกรน ได้บัญญัติกฎเพื่อใช้เป็นมาตรฐานควบคุมกีฬาชนิดนี้ และใช้มาจนถึงวันนี้ หลังจากนั้นไม่นาน กีฬาชนิดนี้ก็เเพร่หลายไปทั่วโลก เป็นที่นิยมทั่วทั้งทวีปอเมริกาใต้ ทวีปยุโรป และแพร่กระจายไปทั่วโลก

ประวัติกีฬาฟุตซอล

ประวัติฟุตซอล ประวัติการแข่งขันฟุตซอลในระดับนานาชาติ

  • ค.ศ. 1965 จัดการแข่งขันครั้งแรกขึ้นในทวีปอเมริกาใต้ ประเทศปารากวัยคว้าแชมป์ทวีปอเมริกาใต้
  • ค.ศ. 1976 มีการแข่งขันในทวีปอเมริกาใต้ 6 ครั้ง โดยนักเตะจากประเทศบราซิลคว้าแชมป์ไปได้ทั้งหมด
  • ค.ศ. 1980 และ ค.ศ. 1984 มีการแข่งขันแพนอเมริกาคัพ โดยนักเตะแซมบ้า ประเทศบราซิล คว้าแชมป์ไปได้ทั้งสองครั้ง
  • ค.ศ. 1982 มีการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก (อย่างไม่เป็นทางการ) เป็นครั้งแรก ณ กรุงเซาเปาโล ประเทศบราซิล และแชมป์ในครั้งนี้คือเจ้าภาพ ประเทศบราซิลนั่นเอง
  • ค.ศ. 1985 มีการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก ( อย่างไม่เป็นทางการ) ครั้งที่ 2 ณ ประเทศสเปน ยังคงเป็นประเทศบราซิลที่คว้าแชมป์ไปครองได้
  • ค.ศ. 1988 มีการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก (อย่างไม่เป็นทางการ) ครั้งที่ 3 ณ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศบราซิลเสียแชมป์ให้แก่ประเทศปารากวัย เป็นครั้งแรก
  • ค.ศ. 1989 ต่อมา สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ได้เข้ามาดูแลการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก ซึ่งนับเป็นการแข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรก โดยจัดการแข่งขันที่กรุงรอตเทอร์ดาม ประเทศเนเธอแลนด์ (ฮอลแลนด์) ซึ่งประเทศบราซิลยังคงความแข็งแกร่ง สามารถคว้าแชมป์มาครองได้ ส่วนรองแชมป์ คือ ประเทศสเปน และอันดับสาม คือ ประเทศรัสเซีย
  • ค.ศ. 1992 มีการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 2 ที่ประเทศฮ่องกง ประเทศบราซิลยังครองความเป็นแชมป์ สหรัฐอเมริกาได้รับตำแหน่งรองแชมป์ ส่วนอันดับสามได้แก่ประเทศสเปน
  • ค.ศ. 1996 มีการแข่งขันชิงฟุตซอลแชมป์โลก ครั้งที่ 3 ที่เมืองบาเซโลนา ประเทศสเปน ประเทศบราซิลรักษาตำแหน่งแชมป์ได้เป็นครั้งที่ 3 รองแชมป์ได้แก่ประเทศฮอลแลนด์ ส่วนอันดับสามได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ค.ศ. 2000 มีการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 4 ที่เมืองกัวเตมาลาซิตี้ ประเทศกัวเตมาลา ครั้งนี้ ประเทศสเปนสามารถล้มบราซิลแชมป์เก่าสามสมัยได้ในรอบชิง ทำให้ประเทศสเปนคว้าแขมป์ไปครอง ส่วนรองแชมป์ได้แก่ประเทศบราซิล อันดับสามได้แก่ประเทศโปรตุเกส

ประวัติฟุตซอลชิงแชมป์โลก

  • ค.ศ. 2004 มีการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 5 ที่ประเทศไต้หวัน ประเทศสเปนคว้าแชมป์ไปครอง รองแชมป์ได้แก่ประเทศอิตาลี และอันดับสามได้แก่ประเทศบราซิล
  • ค.ศ. 2008 มีการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 6 ที่เมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล โดย ประเทศบราซิลกลับมาคว้าแชมป์ไปครองได้อีกสมัย ส่วนรองแชมป์ได้แก่ประเทศสเปน และอันดับสามได้แก่ประเทศอิตาลี
  • ค.ศ. 2012 มีการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยอันดับที่ 1-3 ไม่เปลี่ยนแปลงจากการแข่งขันครั้งที่ 6 ประเทศบราซิลคว้าแชมป์ไปครอง ส่วนรองแชมป์ได้แก่ประเทศสเปน และอันดับสามได้แก่ประเทศอิตาลี
  • ค.ศ. 2016 มีการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 8 ที่เมืองกาลิ ประเทศโคลอมเบีย โดย ประเทศอาร์เจนติน่าสามารถคว้าแชมป์ครั้งแรกได้สำเร็จ ส่วนรองแชมป์ได้แก่ประเทศรัสเซีย และอันดับสามได้แก่ประเทศอิหร่าน
  • ค.ศ. 2020 จะมีการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 9 ที่เมืองวิลนีอุส ประเทศลิทัวเนีย

ประวัติฟุตซอล การแข่งขันฟุตซอล

 

ประวัติฟุตซอลไทย การแข่งขันฟุตซอลในประเทศไทย

ประวัติฟุตซอลไทย | การเล่นฟุตซอลในประเทศไทยไม่เป็นที่ปรากฏแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีการเล่นกีฬาที่คล้ายคลึงกันที่เรียกกันติดปากว่า ฟุตบอลโกลหนู ที่มีรูปแบบการเล่นที่คล้ายกับฟุตบอลแต่ลดขนาดของสนามและผู้เล่นลงมา ซึ่งฟุตบอลโกลหนูนั้น นิยมเล่นกันแบบไม่มีผู้รักษาประตูแต่ไม่ได้กำหนดตายตัว แล้วแต่การตกลงกันของนักกีฬา การเล่นแบ่งเป็น 2 ทีม ฝ่ายละเท่า ๆ กัน ซึ่งมักจะไม่เกินฝั่งละ 5 คน ลูกบอลจะใช้บอลชนิดใดก็ได้ตามแต่ที่หาได้ ส่วนสนามนั้นจะเป็นที่ว่างใด ๆ ก็ได้ที่เอื้ออำนวย เช่น ที่ว่างจากสนามบาสเกตบอล ที่ว่างบริเวณใต้สะพาน หรือทางด่วน เป็นต้น ส่วนฟุตซอล ซึ่งเป็นกีฬาในร่มอย่างเป็นทางการนั้น ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก อาจเป็นเพราะหาสถานที่ที่เป็นสนามที่ถูกต้องอย่างเป็นทางการได้ยากกว่า และวัตถุประสงค์ของการเล่นฟุตบอลโกลหนู มักเป็นการออกกำลังกาย มากกว่าฝึกซ้อมเพื่อใช้ไปแข่งขัน

โดย ประวัติฟุตซอลไทย ที่มีหลักฐานบันทึกไว้นั้น เป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

  • ในปี พ.ศ.2540 ประเทศไทยได้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอล 5 คน (ฟุตบอล 5 คน คือ คำที่ใช้เรียกกีฬาฟุตซอล ในประเทศไทย ในช่วงนั้น) ขึ้นครั้งแรก ด้วยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายที่ช่วยกันผลักดันกีฬาชนิดนี้ให้ได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร การกีฬาแห่งประเทศไทย และเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมกันจัดการแข่งขันฟุตบอล 5 คน ในรายการ “STAR IN DOOR SOCCER 1997” เมื่อวันที่ 12 – 21 กรกฎาคม 2540 ณ เดอะมอลล์ บางกะปิ โดยมี 12 ทีมสโมสรชั้นนำจากไทยแลนด์ลีกเข้าร่วมการแข่งขัน และทีมการท่าเรือแห่งประเทศไทยชนะเลิศในการแข่งขัน
  • ปี พ.ศ. 2541 มีการจัดการแข่งขันขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 2 ทีมกรุงเทพมหานครชิงชนะเลิศกับแชมป์เก่าสโมสรการทหารท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งทีมกรุงเทพมหานครสามารถเอาชนะแชมป์เก่าลงได้ และคว้าแชมป์ไปครองได้สำเร็จ

ประวัติฟุตซอลไทย

  • ปี พ.ศ. 2543 มีการจัดแข่งขันฟุตซอลเป็นครั้งที่ 3 โดยมีการแข่งขันรอบคัดเลือกในแต่ละภาคเพื่อนำทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศมาแข่ง ขันกับทีมสโมสรจากไทยแลนด์ลีก ในการแข่งขันฟุตซอลชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ ทีมสโมสรทหารอากาศคว้าแชมป์ไปได้ ทำให้กีฬาฟุตซอลเป็นเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น
  • ต่อมาประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย และจากการแข่งขันดังกล่าวประเทศไทยได้อันดับที่ 3 และได้สิทธิ์เดินทางไปแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกรอบสุดท้าย ณ ประเทศกัวเตมาลา
  • ในปี พ.ศ. 2543 ได้จัดการแข่งขันทั้งในระดับเยาวชน 18 ปี ครั้งที่ 1 โดยคัดเลือกตามภาคต่างๆ และนำทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศมาแข่งขันกับทีมโรงเรียนรับเชิญในกรุงเทพมหานคร
  • ปี พ.ศ. 2544 มีการจัดการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ทั้งระดับเยาวชนและประชาชน เช่น การแข่งฟุตซอล ควิก จูเนียร์ฟุตซอลไทยแลนด์ แชมป์เปี้ยนชิพ และอัมเทล ฟุตซอลไทยแลนด์แชมป์เปี้ยนชิพ 2001 และทีมชาติไทยสามารถสร้างผลงาน ชนะเลิศระดับอาเซียน ที่ประเทศมาเลเซีย และชนะเลิศระดับดิวิชั่น 2 ไทเกอร์คัพ ที่ประเทศสิงคโปร์
  • ปี พ.ศ. 2545 มีการจัดการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ทั้งระดับเยาวชนและประชาชน เช่น การแข่งฟุตซอล ควิก จูเนียร์ฟุตซอลไทยแลนด์ แชมป์เปี้ยนชิพ และการแข่งขันชนะเลิศแห่งประเทศไทยทีมสโมสรราชนาวีคว้าแชมป์ไปได้
  • ปี พ.ศ. 2547 ทีมชาติไทยก็สามารถคว้าอันดับที่ 3 ในการชิงแชมป์ เอเชีย ได้สิทธิเดินทางไปแข่งขันชิงแชมป์โลกรอบสุดท้ายที่ประเทศไต้หวัน

เรียนการโรงแรมที่สวิตเซอร์แลนด์

ในส่วนของการแข่งขันฟุตซอลระดับภูมิภาคเอเชียนั้น ทีมชาติไทยสามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ถึงจะยังไม่สามารถคว้าแชมป์ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียได้สำเร็จ แต่ก็ได้รองแชมป์หรือรองอันดับสามบ่อยครั้ง ซึ่งถือว่าฝีเท้าของนักกีฬาฟุตซอลทีมชาติไทยไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคู่แข่งในระดับทวีปเอเชียเลย ซึ่งเราก็ต้องติดตามเชียร์และให้กำลังใจนักกีฬาเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายแชมป์ระดับเอเชีย หรือระดับโลกในอนาคตต่อไป โดยอันดับในแต่ละปีของฟุตซอลรายการ ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย (AFC Futsal Championship)มีดังนี้

ประวัติกีฬาฟุตซอล ผลการแข่งขัน AFC Futsal

ประวัติฟุตซอล กติกาฟุตซอล กติกากีฬาฟุตซอล

สนามแข่งขันฟุตซอล

สนามเเข่งขันต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวเส้นข้างต้องยาวกว่าความยาวเส้นประตู โดยสนามมีความยาวต่ำสุด 25 เมตร สูงสุด 42 เมตร ความกว้างต่ำสุด 15 เมตร สูงสุด 25 เมตร การแข่งขันระหว่างชาติ (International Matches) ความยาว ต่ำสุด 38 เมตร / สูงสุด 42 เมตร ความกว้าง ต่ำสุด 18 เมตร / สูงสุด 25 เมตร

ประวัติฟุตซอล สนามฟุตซอล

ผู้เล่นฟุตซอล

จะมีผู้เล่นทั้งสองทีม ทีมละไม่เกิน 5 คนอยู่บนสนาม และหนึ่งใน 5 คนนี้ ต้องเป็นผู้รักษาประตู และอนุญาตให้มีผู้เล่นสำรองไม่เกิน 7 คน อนุญาตให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่จำกัดจำนวน สามารถเปลี่ยนตัวได้ตลอดเวลา ผู้เล่นที่เปลี่ยนออกไปแล้วสามารถกลับเข้าไปเล่นใหม่ แต่ในกรณีที่ทีมหนึ่งที่เหลือผู้เล่นน้อยกว่า 3 คน รวมผู้รักษาประตู จะต้องยกเลิกการเเข่งขัน

ผู้เล่นต้องไม่สวมใส่เครื่องประดับใด ๆ ที่เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น โดยอุปกรณ์เบื้องต้นมี
1. เสื้อยืดหรือเสื้อเชิ้ต
2. กางเกงขาสั้น (ถ้าสวมกางเกงปรับอุณหภูมิ สีของกางเกงนั้นจะต้องเป็นสีเดียวกันกับสีหลักของกางเกง
3. ถุงเท้ายาว
4. สนับแข้ง
5. รองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหนังนิ่ม หรือรองเท้าออกกำลังกายพื้นยาง

ระยะเวลาการแข่งขัน – ประวัติฟุตซอล

การแข่งขันทีทั้งหมด 2 ครึ่ง ครึ่งละ 20 นาที และระยะเวลาการแข่งขันแต่ละครึ่งอาจเพิ่มเวลาเตะลูกโทษ ณ จุดโทษ ส่วนการขอเวลานอกนั้น ทั้งสองทีมมีสิทธิขอเวลานอก 1 นาที ในแต่ละครึ่งเวลา

ประวัติฟุตซอลต่างประเทศ

การนับประตู

การนับประตูจะเป็นผลเมื่อบอลทั้งลูกผ่านเส้นประตูระหว่างเสาประตูใต้คานประตู แต่ต้องไม่มีการทำผิดกติกาโดยทีมที่ทำประตู ผู้รักษาประตูไม่สามารถทำประตูได้ด้วยมือ และผู้เล่นฝ่ายรุกไม่สามารถทำประตูได้ด้วยแขน

ลูกบอล

1. เป็นทรงกลม
2. ทำด้วยหนังหรือวัสดุอื่นๆที่เหมาะสม
3. ความยาวเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 62 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 64 เซนติเมตร

ระยะเวลาการแข่งขัน

การแข่งขันแบ่งออกเป็น สองครึ่งเท่าๆกัน ครึ่งละ 20 นาที่
การขอเวลานอก ในแต่ละครึ่ง ทีมมีสิทธิ์ขอเวลานอกได้ 1 นาที่
การพักครึ่งเวลาต้องไม่เกิน 15 นาที

การเขี่ยบอลเริ่มเล่น

1. ในขณะเริ่มต้นการแข่งขัน
2. ภายหลังจากมีการทำประตูได้
3. ในขณะเริ่มการแข่งขันในครึ่งเวลาหลัง
4. ในขณะเริ่มการแข่งขันในแต่ละครึ่งของการต่อเวลาพิเศษที่นำมาใช้

การนับประตู

ได้นับเป็นประตูเมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูเข้าไปหมดทั้งลูก

การเล่นที่ผิดกติกาและเสียมารยาท – ประวัติฟุตซอล

ประวัติฟุตซอล การทำผิดกติกาฟุตซอล

การเตะโทษโดยตรง

1. เตะ
2. ขัดขา
3. กระโดด
4. ชนผู้ต่อสู้
5. ทำร้าย
6. ผลักดัน

การเตะโทษโดยอ้อม

1. เล่นในลักษณะที่เป็นอันตราย
2. เจตนากีดขวางการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของคู่ต่อสู้
3. ป้องกันผู้รักษาประตูไม่ให้ปล่อยบอล

การทำผิดกติการวม

จะเป็นการลงโทษโดยการเตะโทษโดยตรง รวม 5 ครั้งแรกของแต่ละทีม

ลักษณะเด่นของกีฬาฟุตซอล – ประวัติฟุตซอล

1. การหยุดชั่วคราว (litermittence) เป็นเทคนิคเฉพาะของการเล่นฟุตซอล เพื่อต้องการทำลายจังหวะของคู่ต่อสู้ แล้วฉวยโอกาสโจมตีทันทีทันใด การหยุดเล่นชั่วคราวนี้สามารถกระทำได้ทั้งในจังหวะที่ต้องใช้ความเร็วสูงและ ความเร็วต่ำ
2. การใช้ความเร็วสูงระยะสั้นที่เกิดขึ้นตลอดเวลา (Sport Sprints) เหตุการณ์ต่างๆในสนามแข่งขันจะบีบบังคับให้นักกีฬาต้องใช้ความเร็วสูงระยะ สั้นๆ นักกีฬาจะต้องคิดอย่างรวดเร็ว และตัดสินใจทันทีทันใด การตัดสินใจผิดพลาดมีผลต่อทีมมาก
3. มีการเปลี่ยนจังหวะของการก้าวเท้าและการเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว (Changes ln Pace & Direction)
4. ทีการหยุดอย่างทันทีทันใด

ประโยชน์ของการเล่นฟุตซอล

สิ่งที่จำเป็นของนักกีฬาฟุตซอล

1.ขนาดรูปร่าง
2.ความรวดเร็ว
3.ความคล่องแคล่วว่องไว
4.ความอ่อนตัว
5.ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
6.ความอดทนของกล้ามเนื้อ
7.ความอดทนของระบบหัวใจและหลอดเลือด
8.ความคิดและปฏิกิริยาที่รวดเร็ว
9.ความแน่นอนแม่นยำ

ประโยชน์ของการเล่นกีฬาฟุตซอล

การเล่นกีฬาทุกชนิดย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เล่นทั้งทางตรงและทางอ้อม ฟุตซอลเป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่ีมีประโยชน์ต่อผู้เล่นดังนี้
1. การเล่นกีฬาฟุตซอลจะต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา มีความเชื่อมั้นในตัวเอง มีไหวพริบดี สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ ตัดสินใจรวดเร็วแน่นอน แม่นยำ ดังนั้นฟุตซอลจึงเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ช่วยฝึกฝนให้ผู้เล่นมีไหวพริบและแก้ ปัญหาอย่างฉับพลันได้
2. ฟุตซอลเป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายให้แข็ง แรง ช่วยให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ระบบการหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบการไหลเวียนของโลหิต เป็นต้น
3. ฟุตซอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสิรมกิจกรรมที่รวมการเคลื่อนไหว เช่น การวิ่งหลบหลีก การแย่ง การรับ การส่ง การกระโดด การเตะ ตลอดจนการใช้เท้าให้สัมพันธ์กับสายตาด้วย

ฟุตซอล ประวัติ ความเป็นมา

คำค้น : ประวัติฟุตซอล ประวัติกีฬาฟุตซอล ประวัติฟุตซอลไทย ประวัติกีฬาฟุตซอลไทย กติกาฟุตซอล ประโยชน์ของการเล่นฟุตซอล ความเป็นมาฟุตซอล ประวัติฟุตซอลต่างประเทศ ประวัติฟุตซอลชิงแชมป์โลก ประวัติฟุตซอลทีมชาติไทย

ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลจาก http://www.kptc.ac.th และ
ศูนย์วิชาการและเทคโนโลยีกีฬา satc.or.th และ
กรมพลศึกษา dpe.go.th

กลับขึ้นไปด้านบน | ไปหน้า เกร็ดความรู้